1. บริหารทรัพยากรแบบบูรณาการ
ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า ได้แก่
การพัฒนาอ่างเก็บน้ำหนองเสือเพื่อส่งน้ำไปใช้ในโครงการ โดยมีสัตว์เก็บกักน้ำไว้ 2
สระ ไว้รองรับและกระจายนำเข้าสู่ระบบการเพาะปลูก ฟาร์มปศุสัตว์
และโรงงานแปรรูปนม รวมทั้งการขุดเอาเจาะน้ำบาดาลเพื่อนำมาใช้ในการอุปโภคด้วย
2. ใช้ช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรของโครงการฯ ผ่านร้านโกลเด้นเพลส (Golden
Place) ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท สุวรรณชาด จำกัด
ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อควบคุมผลผลิตให้มีคุณภาพและจำหน่ายถึงผู้บริโภคโดยตรง
3. เป็นแหล่งเรียนรู้
ในการนำพลังงานสะอาดจากธรรมชาติมาใช้เป็นพลังงานทดแทนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น
ทุ่งกังหันลม (Wind Farm) และแผงพลังงานแสงอาทิตย์
(Solar cells) สามารถจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้เข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ซึ่งนอกจากเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่โครงการฯ แล้ว ยังช่วยให้ราษฎรในหมู่บ้านต่าง ๆ
ที่อยู่ใกล้เคียง มีกระแสไฟฟ้าใช้ได้อย่างพอเพียง และทั่วถึง
4. เป็นแหล่งสาธิตทางการเกษตรของภาคเอกชนและวิทยาลัยแม่โจ้
เพื่อให้โครงการนี้มีประโยชน์แก่เกษตรกรและประชาชนเพิ่มมากขึ้น เช่น
บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จัดทำแปลงสาธิตการปลูกยางพาราที่ทันสมัย
และนาข้าวทดลองแบบใช้นำบังคับให้ได้ผลผลิตสูง และลดต้นทุนการผลิต
มหาวิทยาลัยแม่โจ้นำเสนอแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสานสำหรับการดำเนินชีวิตได้อย่างพอเพียงในพื้นที่จำกัด
เพียง 1 ไร่ และเงินลงทุน 100,000 บาท
รวมทั้งการเพาะเลี้ยงไส้เดือน เพื่อประโยชน์ในการผลิตปุ๋ยบำรุงดินและเป็นรายได้เสริมของเกษตรกรที่สนใจ
เป็นต้น
ในปี 2556 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร ทรงมอบหมายให้โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนกิจการของโครงการฯ
โดยจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมพัฒนาและปฏิบัติงานร่วมกับกองงานส่วนพระองค์ เช่น
การเลี้ยงโคนม การเลี้ยงไก่ไข่ การผลิตน้ำนมพาสเจอไรซ์และสเตอริไรส์
หน่วยพลังงานทดแทน ไบโอดีเซล รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ปัจจุบัน
โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ
ได้ก้าวเข้าสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรอีกแห่งหนึ่ง
ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ผู้ที่สนใจเข้าศึกษาดูงาน
และเปิดให้เข้าชมได้จากจุดเริ่มต้นที่มาจากพื้นที่ที่แห้งแล้งและเสื่อมโทรม
กลับกลายเป็นพื้นที่สีเขียว ที่สามารถเพาะปลูกพืชสวนครัวและ พันธุ์พืชต่าง ๆ
รวมทั้งการปศุสัตว์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์นม และหน่วยพลังงานทดแทน ซึ่งได้มีนักเรียน
นิสิต นักศึกษา เกษตรกร และประชาชนทั่วไป รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ
และเอกชน ภิกษุ สามเณรตลอดจนชาวต่างชาติ เข้าเยี่ยมชมกิจกรรมของโครงการฯ
เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น